วิวัฒนาการของดนตรีที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยในความเจริญ

2

ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆ กับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆ มนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ แม้ในโพรงไม้ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่า ปาก เป่าเขา เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็มีการเปล่งเสียงร้องออกมาตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ ในยุคนั้นก็ทำไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า เพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ให้แก่ตน หรือเพื่อเป็นการบูชา แสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

โลกได้ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยดนตรีก็ได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญ และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีในสมัยเริ่มแรกที่เคยใช้ก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพลงที่เคยร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนาและ เพลงร้องโดยทั่วๆ ไปเป็นต้นในระยะแรกๆ นั้นดนตรีมีอยู่เพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง เวลาผ่านไปหลายศตวรรษ จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราจึงเริ่มรู้จักใช้เสียงต่างๆ มาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายๆ เสียงขึ้นมา

ยุคแรก คือตั้งแต่ ปี ค.ศ.1200-ค.ศ.1650 จะเรียกกันว่า Polyphonic Period ได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  จนมีต้นแบบฉบับ และมีหลักในการเรียนวิชาดนตรี มีโรงเรียนสอนดนตรี ยุคนี้ก็จะเริ่มมีวงดนตรี เกิดขึ้นมากพอสมควร วงดนตรียุคนี้ส่วนมากจะเล่นในโบสถ์ หรือตามบ้านเจ้านาย โรแมนติก เพลงของยุคนี้เป็นแบบเพ้อฟัน เห็นภาพชัดเจน และไม่มุ่งเน้นถึงแบบแผน กฏเกณฑ์อะไรมากมายนัก นักแต่งเพลงที่สำคัญได้แก่ F.P.Schubert นักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ผู้แต่งเพลงที่มีค่าไว้มากมายได้แก่ ซิมโฟนีต่างๆ โซนาตา และเพลงร้องที่ไพเราะมากมาย

F.F.Chopin นักแต่งเพลงเอกชาวโปแลนด์ คนนี้เป็นนักเปียโนเอกที่เก่งมากๆ แต่งเพลงเปียโนที่หวานซึ้งไว้มากมาย เนื่องจากที่เขาเป็นคนรักชาติมาก จึงได้แต่งเพลงที่แฝงสำเนียงโปลเอาไว้ด้วยและเพลงอื่นๆที่ไพเราะของเขาเช่น valses, mazurkas , perlude, fantasia ,etude(เพลงฝึกหัด), nocturn เป็นต้น F.Liszt นักแต่งเพลงเอกชาวฮังกาเรียน ท่านนี้เป็นผู้ที่ให้ความอุปการะแก่นักแต่งเพลงต่างๆมากมาย เช่น ตอนที่โชแปงอบยพมาฝรั่งเศสใหม่ๆท่านก็ได้ทำให้โชแปงแจ้งเกิด และท่านก็เป็นผู้รับรองต่อศาลให้ โรเบิร์ต-คลารา ชูมานน์ ได้แต่งงานกัน และยังเป็นผู้อุปการะวากเนอร์อีกด้วย ท่านได้แต่งเพลงต่างๆไว้มากมายและได้วางรูปแบบเพลงใหม่ๆ เช่น symphonic poem และท่านได้แต่งเพลงที่มีรูปแบบอันเป็นทางของเพลงสมัยใหม่ เพลงที่สำคัญได้แก่ sonatas, nocturns , rhypsody , etude ,valse ,concertos นักแต่งเพลงที่สำคัญอื่นๆ ยังมีอีก เช่น J. Brahms , R.Schumann เป็น

This entry was posted in อิทธิพลของอินเตอร์เน็ต. Bookmark the permalink.

Comments are closed.