ดนตรีเป็นส่วนสำคัญของชีวิตแม้แต่ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ยังชอบฟังดนตรี

28

สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มานานจนกลายเป็นวัฒนธรรมของแต่ ละเชื้อชาติ สิ่งนั้นก็คือ ‘ดนตรี’  มีการประพันธ์บทเพลง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงเพื่อความไพเราะ ดนตรีจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้บำบัดโรค หลายคนจึงตั้งข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้วดนตรีสามารถบำบัดโรคได้หรือไม่ดนตรีมีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดโดยแม่จะร้อง เพลงกล่อมลูก ครั้นเมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิต ก็มีการใช้ดนตรีในพิธีกรรมต่างๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์ได้มีมานานแล้ว ในปัจจุบันวงการแพยท์ก็ได้มีการนำดนตรีมากระตุ้นการทำงานของสมอง และระบบทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบการหายใจ โดยการใช้วิธีเปล่งเสียงช่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ในประเทศไทย ได้มีมากว่า 20ปีแล้ว การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดจิตใจหรือร่างกายนั้น ผู้รักษาจะต้องเป็นแพยท์หรือนักจิตวิทยาบำบัดเท่านั้น

ดนตรีเป็นส่วนสำคัญของชีวิตแม้แต่ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ยังชอบฟังดนตรี อ.ดุษฏี พนมยงค์ บุญทัศนกุล อธิบายว่า นี่เป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ และเป็นหลักการแพทย์ ซึ่งแพทย์ในต่างประเทศได้พิสูจน์ว่าทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา สามารถได้ยินเสียงจากภายนอกครรภ์ได้ โดยทารกจะฟังความเคลื่อนไหว ของอวัยวะภายในครรภ์มารดา ในประเทศตะวันตกแพทย์ได้นำหลักการนี้มาใช้ โดยให้ทารกฟังดนตรีตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพื่อทำให้ทารกมีเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้น และทำให้บริเวณระหว่างเชลล์มีเครื่อข่ายที่เชื่อมโยงกัน เมื่อเด็กฟังดนตรีที่มีคุณภาพ เซลล์สมองของเขาจะเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง แล้วเครื่อข่ายที่โยงใยระหว่างเซลล์ต่อเซลล์ก็จะมีมากขึ้น เหล่านี้คือสิ่งที่เราเรียกว่า ‘ตรรกะ’ หรือเหตุและผล เมื่อเด็กมีตรรกะตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาดังนั้นเมื่อเขาคลอดออกมาเขาก็จะมี จิตใจที่แจ่มใสและร่าเริง อย่างไรก็ตามดนตรีก็ต้องเลือกฟังเพราะถ้านำดนตรีบางประเภทมาให้เด็กฟังอาจทำ ให้เกิดความไม่สงบ เมื่อเด็กเกิดมาเขาอาจจะเป็นเด็กก้าวร้าวซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหลักการ ทางวิทยาศาสตร์ TIPS เสียง ดนตรีเสียงแรกของลูก คือ เสียงหัวใจของแม่ โดยรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของผิวหนังและการรับคลื่นเสียงที่ส่งผ่านมดลูกไป ยังน้ำคร่ำ รวมทั้งเวลาที่แม่พูด ร้องเพลง ฟังเพลงแบบเบาๆ สบายๆ จะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของลูก

This entry was posted in อิทธิพลของอินเตอร์เน็ต. Bookmark the permalink.

Comments are closed.