มุมมองของอิทธิพลดนตรีตะวันตกที่มีต่อดนตรีไทยตามประวัติศาสตร์

ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี

อิทธิพลดนตรีตะวันตกที่มีต่อดนตรีไทยนั้น  จะเห็นได้จากหลักฐานต่างๆ  เช่น คำบอกเล่า จดหมายเหตุต่างๆ  วรรณกรรมต่างๆ  บันทึกต่างๆ  หนังสือพิมพ์  เป็นต้น

การกำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีรูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติ ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติ กรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

อิทธิพลของดนตรีตะวันตกนั้น ส่งผลต่อดนตรีของไทยเราเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีอิทธิพลโดยตรงต่อสังคม ประเทศชาติ อีกด้วย ทำให้เกิดบทเพลง ประเภทเพลงเกียรติยศขึ้นมา เช่น เพลงชาติไทย และ เพลงสรรเสริญพระบารมี  กว่าจะมาเป็นเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมีในปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเนื้อร้องและทำนองแล้วมาหลายครั้ง เห็นได้ว่าอิทธิพลดนตรีตะวันตก มีความสำคัญต่อ ดนตรีไทย  สังคมไทย  พิธีกรรม ราชพิธี ต่างๆ เป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดเจนจากเพลงชาติไทยเพราะเรารับเอาวัฒนธรรมดนตรีของชาติตะวันตกมาปรับเปลี่ยน ดัดแปลงเข้ากับวัฒนธรรมดนตรีของไทยเราเอง จนเกิดมาเป็นเพลงชาติไทยที่เราร้องกันอยู่ถึงปัจจุบันนี้

This entry was posted in อิทธิพลของอินเตอร์เน็ต and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.